วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

 


ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor)

 ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyorคือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyorที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน

ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้ระบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท

1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)        ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่าง ระดับระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติกจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray



2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)           ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึงลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น



3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)              ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด

 


4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System             ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง


 

 


 

ระบบ AGV 

AGV (Automated Guided Vehicle) คือรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติโดยใช้แถบแม่เหล็ก วิชั่น หรือเลเซอร์ เป็นตัวบอกทิศทางให้กับรถเวลาเคลื่อนที่ ส่วนมากใช้ในงานอุตสาหกรรม/โรงงาน/คลังสินค้า ไว้ลำเลียงสินค้า/ชิ้นงาน จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ปัจจุบัน AGV เป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจาก AGV ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงาน ลดข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้แรงงานคน

 

1.แบบบรรทุก

สำหรับการขนย้ายสิ่งของโดยบรรทุกไว้บนตัวรถหรือสามารถนำไปใช้เป็นสถานีสำหรับประกอบงาน  

 



 

 

ขนส่งวัตถุดิบ

ใช้แทนการขนส่งวัตถุดิบโดยใช้แรงงานคน หรือทดแทนการใช้สายพานลำเลียง

 

สถานีประกอบงานบนตัวรถ

การนำรถเอจีวีไปใช้เป็นสถานีประกอบงาน เป็นรูปแบบการนำไปใช้ที่มีประสิทธิภาพในสายงานการผลิต

 

ลำเลียงสินค้าสำเร็จรูป

ในกระบวนการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปย่อมต้องการ การขนส่งที่ปลอดภัยต่อสินค้าเพื่อป้องกันการเสียหาย เอจีวีเป็นคำตอบนึงที่มีศักยภาพครบทั้งเรื่องการควบคุมกระบวนการ และการส่งมอบที่ประหยัดเวลาสูงสุด

 

2. แบบลากจูง

สำหรับการนำรถเข็นมาต่อพ่วงเพื่อลากจูง

 

 

ขนส่งวัตถุดิบ

ใช้แทนการขนส่งวัตถุดิบโดยใช้แรงงานคน หรือทดแทนการใช้สายพานลำเลียง

 

สถานีประกอบงานบนตัวรถ

การนำรถเอจีวีไปใช้เป็นสถานีประกอบงาน เป็นรูปแบบการนำไปใช้ที่มีประสิทธิภาพในสายงานการผลิต

 

ลำเลียงสินค้าสำเร็จรูป

ในกระบวนการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปย่อมต้องการ การขนส่งที่ปลอดภัยต่อสินค้าเพื่อป้องกันการเสียหาย เอจีวีเป็นคำตอบนึงที่มีศักยภาพครบทั้งเรื่องการควบคุมกระบวนการ และการส่งมอบที่ประหยัดเวลาสูงสุด

 

3. แบบเกี่ยวลาก (ลอดใต้)

สำหรับการลอดใต้ไปเกี่ยวลากรถเข็นเพื่อไปส่งยังจุดต่างๆ

 

 

 

 

ขนส่งวัตถุดิบ

ใช้แทนการขนส่งวัตถุดิบโดยใช้แรงงานคน หรือทดแทนการใช้สายพานลำเลียง

 

สถานีประกอบงานบนตัวรถ

การนำรถเอจีวีไปใช้เป็นสถานีประกอบงาน เป็นรูปแบบการนำไปใช้ที่มีประสิทธิภาพในสายงานการผลิต

 

ลำเลียงสินค้าสำเร็จรูป

ในกระบวนการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปย่อมต้องการ การขนส่งที่ปลอดภัยต่อสินค้าเพื่อป้องกันการเสียหาย เอจีวีเป็นคำตอบนึงที่มีศักยภาพครบทั้งเรื่องการควบคุมกระบวนการ และการส่งมอบที่ประหยัดเวลาสูงสุด

 


วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

หุ่นยนต์ 4 ประเภท

 หุ่นยนต์ผู้ช่วยของมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรม

เมื่อปี ค.ศ.1961 ได้ก่อกำเนิดหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมตัวแรกของโลก ซึ่งถูกคิดค้นโดยนายจอร์จ ดีวอล (George Devol) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เพื่อให้หุ่นยนต์ได้ทำงานที่อันตรายแทนมนุษย์ในโรงงานประกอบรถยนต์ แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวกระโดดไปได้ไกลมากขึ้น มนุษย์ได้คิดค้นและสร้างหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นเพื่อนร่วมงานของมนุษย์ นั่นก็คือ ‘Cobot’ หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างเฉลียวฉลาดและมีประสิทธิภาพ 

Cobot คืออะไร

โคบอท หรือ Collaborative Robots คือหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรูปร่างเป็นแขนกลที่ทำงานหยิบจับจัดเรียงชิ้นส่วนต่างๆและหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียด ซึ่ง Cobot จะมีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย สามารถตรวจวัดและผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงได้หลายๆชิ้นตามสเกลที่กำหนดไว้โดยปราศจากข้อผิดพลาด โดยโคบอทมีความแตกต่างจากหุ่นยนต์หรือโรบอททั่วไปคือโคบอทมีน้ำหนักเบาและขนาดไม่เทอะทะ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆในโรงงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยโคบอทถูกใช้อย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เคมีภัณฑ์ ยา อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์

Cobot มาเพื่อแทนที่ของมนุษย์?

ปัจจุบันนี้ หุ่นยนต์โคบอทยังไม่มีความฉลาดเทียบเท่ามนุษย์และยังไม่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ โคบอทจึงไม่สามารถมาแทนที่ของมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ โคบอทจึงเป็นเพื่อนร่วมงานตัวหนึ่งซึ่งช่วยให้มนุษย์ทำงานต่างๆที่ต้องใช้ความละเอียดและต้องการกำลังการผลิตสูง เปรียบเสมือนมือขวาขอมนุษย์ซึ่งทำงานเชื่อมและประกอบชิ้นส่วนต่างๆที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ 

หุ่นยนต์โคบอททำอะไรได้บ้าง

โดยปัจจุบันนี้มีหุ่นยนต์โคบอทตัวหนึ่งซึ่งเป็นแขนกลที่ทำหน้าที่เชื่อมและประกอบชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรม นั่นก็คือโคบอทรุ่น UR3 ที่สร้างและพัฒนาโดยบริษัท Universal Robots โดยหุ่นยนต์โคบอทรุ่นนี้มีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย ทำงานเชื่อมและประกอบได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถตรวจจับและวัดขนาดได้แม่นยำกว่ามนุษย์ และหุ่นนบนต์โคบอทรุ่น UR5 ที่ทำงานจับวางและทดสอบชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้เร็วกกว่ามนุษย์ถึง 18 เท่าต่อครั้ง

เรียนรู้วิธีการใช้งานโคบอทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัท Universal Robots มีช่องทางความรู้ออนไลน์ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาวิธีการใช้งานหุ่นยนต์โคบอท โดยเป็นการจัดอบรมให้ความรู้จากสถาบัน Universal Robots Academy ที่ได้รับอนุญาตและผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการให้ความรู้เบื้องต้นไปจนถึงความรู้ขั้นสูงของหุ่นยนต์โคบอท การเขียนสคริปต์ การป้อนคำสั่งและสอนวิธีการใช้งานหุ่นยนต์ในรูปแบบต่างๆ 

ครูผู้สอนของสถาบัน Universal Robots Academy เป็นผู้เชี่ยวชาญทางหุ่นยนต์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ มีความรู้และความเข้าใจในหุ่นยนต์โคบอท สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนมีความเข้าใจความซับซ้อนของระบบอัตโนมัติของหุ่นยนต์โคบอทและสามารถใช้งานหุ่นยนต์โคบอทได้จริง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดภาระงานในโรงงานอุตสาหกรรม




หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์

NAO หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์
นาโอะ (NAO) เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัท Aldebaran Robotics จากประเทศฝรั่งเศสแม้ว่าจะมีการใช้นาโอะ (Academics Edition) ตามมหาวิทยาลัยและห้องทดลองหลายแห่งเพื่อจุดประสงค์ทางการวิจัยในขณะนี้ยัง ไม่มีการวางจำหน่ายนาโอะตามท้องตลาดทั่วไปจนกว่าปลายปี พ.ศ. 2553 นาโอะได้ถูกเลือกให้เป็นหุ่นยนต์มาตรฐานสำหรับการแข่งขันโรโบคัพแทนหุ่นยนต์ สุนัขไอโบของบริษัทโซนีตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา

วิทยาการหุ่นยนต์ เป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต และการประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์วิทยาการหุ่นยนต์เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์, กลศาสตร์, และซอฟต์แวร์
ระบบสมองกลที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนที่หรือการเดินของหุ่นยนต์ในขั้นต้น คือ การเดินแบบสถิตย์ หรือการเคลื่อนที่โดยอาศัยจุดศูนย์ถ่วงที่อยู่ภายในพื้นที่ครอบคลุมบริเวณขา ทั้ง 2 ข้างของหุ่นยนต์ จากนั้นจึงเป็นการพัฒนาเป็นรูปแบบการเดินแบบจลน์หรือการเคลื่อนที่โดยอาศัย จุดศูนย์ถ่วงที่อยู่นอกพื้นที่ครอบคลุมของขาทั้ง 2 ข้างซึ่งเป็นรูปแบบการเดินของมนุษย์ตามลำดับ ซึ่งทีมวิศวกรได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาตามข้อมูลที่ทำการทดลองและจดบันทึก เป็นฐานข้อมูลจากการทดลองรูปแบบการเคลื่อนที่ของมนุษย์ทีมวิศวกรได้คำนึงถึง องค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างในการพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ให้สามารถเดินได้เช่นเดียวกับมนุษย์ คือ

  1. การพัฒนาความเร็วในการเคลื่อนที่ไปด้านหน้าของหุ่นยนต์
  2. การเพิ่มเติมในระดับถัดไปของร่างกาย เช่น แขน มือและศีรษะ
  3. การพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ เช่นการก้าวเดินขึ้นลงบันได หรือการวิ่ง

นาโอะรุ่นสำหรับโรโบคัพมีดีกรีความอิสระ (DOF - degrees of freedom) เท่ากับ 21 ในขณะที่รุ่นสำหรับงานทดลองมี 25 DOF เนื่องจากเพิ่มเติมมือสองข้างเข้าไปด้วยเพิ่อเพิ่มความสามารถทางด้านการหยิบ จับ ทุกรุ่นของนาโอะประกอบด้วย inertial sensor และ ultrasound captors นอกจากนี้นาโอะยังมีไมโครโฟน 4 ตัว ลำโพง 2 ตัว และกล้อง CMOS 2 ตัวเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการรู้จำคำพูดการรู้จำภาพ, และโลคอลไล



หุ่นยนต์สุนัข

คงเป็นเพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ก้าวหน้าขึ้นมาก จนประเทศต่าง ๆ เริ่มทำการผลิตเครื่องจักรกลประเภท "หุ่นยนต์" ออกมากันอย่างมากมาย ซึ่งมีความสามารถและประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันไป แต่ก็สร้างความตกตะลึงและตื่นเต้นให้ผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีได้อยู่เสมอ และในครั้งนี้อีกเช่นกันกับ หุ่นยนต์สัญชาติอเมริกัน "แอลเอส3" (LS3) ที่ภูมิใจนำเสนอโดยทางกองทัพสหรัฐฯ เอง ซึ่งคงไม่ต้องบอกก็น่าจะเดา ๆ ได้ว่าหุ่นยนต์ตัวนี้ต้องเป็นหุ่นยนต์ทางด้านการทหารอย่างไม่ต้องสงสัย

          สำหรับ แอลเอส3 หรือฉายา "อัลฟ่า ด็อค" (Alpha Dog) เป็นหุ่นยนต์ออกแบบและพัฒนาจากบริษัทบอสตัน ไดนามิกส์ (Boston Dynamics) ซึ่งทำออกมาในรูปแบบของจักรกล 4 ขาคล้ายสุนัขตัวใหญ่ ในลักษณะเดียวกับหุ่นยนต์บิ๊กด็อก หุ่นยนต์รุ่นก่อนหน้าของทางบริษัทเอง โดยหุ่นแอลเอส3 สามารถเดินทางระยะทางไกลกว่า 32 กิโลเมตรแบบไม่ต้องหยุดพัก และแบกสัมภาระหนักถึง 180 กิโลกรัม ได้อย่างสบายอีกด้วย โดยดาร์ปา (DARPA) หน่วยงานวิจัยทางทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ให้การสนับสนุนด้านทุนวิจัยและการพัฒนาของหุ่นตัวนี้ ออกมาเผยว่า "จากการสาธิต แอลเอส3 เดินด้วยขาในระบบกึ่งอัตโนมัติ สามารถบรรทุกสัมภาระหนัก และเดินทางร่วมกับทหารผ่านภูมิประเทศที่มีเส้นทางขรุขระได้อย่างคล่องแคล่ว"

          หุ่นยนต์สุนัขตัวนี้ยังมีการปรับปรุงในด้านของมอเตอร์ที่มีเสียงการทำงานเบาลงกว่าเดิม ซึ่งรุ่นเก่านั้นทหารแทบจะคุยสื่อสารกันเองไม่ได้เลยหากอยู่ใกล้ตัวหุ่นยนต์ พร้อมเพิ่มระดับความเร็วในการเคลื่อนไหวอีกด้วย โดยโหมดเดินปกติจะเดินได้เร็วประมาณ 4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งเหยาะ ๆ ไปตามพื้นผิวขรุขระเร็วประมาณ 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งบนทางเรียบ ๆ อยู่ที่ประมาณ 11 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหากว่าเวลาเดินอยู่เกิดสะดุดล้ม เจ้าหุ่นยนต์ก็สามารถลุกขึ้นอัตโนมัติได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงการเดินติดตามผู้นำและสมาชิกในกลุ่มโดยไม่แตกแถว นอกจากนี้ยังมีระบบ TRC เพื่อให้แอลเอส3 รู้พิกัดของผู้นำกลุ่ม ผ่านระบบหน้าจอทัชสกรีนคล้ายไอแพดอีกด้วย

          หลังจากที่ทดสอบเบื้องต้นไปเรียบร้อยแล้ว ทางดาร์ปายังเผยเพิ่มเติมว่า พวกเขาเตรียมนำแอลเอส3 ไปทดสอบกับหน่วยนาวิกโยธินแล้ว โดยจะนำไปไว้ในค่ายฝึกซ้อมของทหารต่าง ๆ รวมไปถึงค่ายที่เวอร์จิเนีย และทะเลทรายในแคลิฟอร์เนียด้วย ซึ่งจะเริ่มทดสอบในเดือนธันวาคมนี้ และคาดว่าใช้เวลาทดสอบประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นค่อยมาพิจารณากันอีกครั้งหนึ่งว่าเจ้าแอลเอส3 จะพร้อมทำงานช่วยเหลือบรรดาทหารได้มากน้อยแค่ไหน

LS3 หุ่นยนต์สุนัขลำเลียงของช่วยเหลือเหล่าทหาร

LS3 หุ่นยนต์สุนัขลำเลียงของช่วยเหลือเหล่าทหาร

LS3 หุ่นยนต์สุนัขลำเลียงของช่วยเหลือเหล่าทหาร

LS3 หุ่นยนต์สุนัขลำเลียงของช่วยเหลือเหล่าทหาร




หุ่นยนต์สุนัขกู้ระเบิด

พบกันอีกครั้ง กับ ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ (Applied Innovation Centre : AI Centre) ภายใต้การอำนวยการของ ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม
กว่า ปีของการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด โดยเริ่มจากแรงบันดาลใจ ที่อยากจะช่วยเหลือประเทศไทยในแบบของวิศวกร โดยจะขอใช้ความรู้ความสามารถที่มี เป็นกำลังหนุนให้กับเหล่าทหารที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันประเทศในเหตุการณ์ไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเห็นความสำคัญของหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่สามารถเข้าไปเก็บกู้หรือทำลายวัตถุต้องสงสัยแทนเจ้าหน้าที่ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดแม้จะปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จ หุ่นยนต์เหล่านี้จะเข้าไปตายแทนเจ้าหน้าที่ ถือเป็นการลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งแน่นอนว่าคุณค่าของหุ่นยนต์ เทียบไม่ได้เลยกับชีวิตคนหนึ่งคน แม้ว่าราคาจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม
จากความคิดนี้ ทำให้ AI Centre เริ่มวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นแรกขึ้น คือ “หุ่นยนต์กู้วัตถุระเบิดแบบพกพา” (Portable Rescue Robot : PRR) โดยการออกแบบโครงสร้างที่แข็งแรงและใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา คงทนสูง ด้วยน้ำหนักประมาณ 26 กิโลกรัม ผู้ใช้สามารถพกพาโดยการสะพายหลังหรือยกเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างคล่องตัว
ส่วนล้อเป็นตีนตะขาบสำหรับใช้งานบนพื้นผิวขรุขระ และติดตั้งแขนกล แกนอิสระพลังสูง สามารถเคลื่อนย้าย สอดส่องวัตถุต้องสงสัย เปิดประตูรถยนต์ได้คล่องตัว อีกทั้งสามารติดตั้งปรับเลี่ยนอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์ ปืนตัดวงจรระเบิดด้วยแรงดันน้ำ
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยอยู่ในตัวหุ่น เช่น ระบบควบคุมด้วยสัญญาณดิจิตอลที่ประมวลผลโดยไมโครคอนโทรเลอร์ขนาดเล็กและคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ช่องทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย ที่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบเชื่อมสายและไร้สาย กล้องความละเอียดสูงที่มีเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลและแสดงผลภาพอย่างต่อเนื่อง เซ็นเซอร์วัดระยะ ไฟสปอตไลท์ความสว่างสูงสำหรับการใช้งานในกลางคืน พร้อมกล่องควบคุมที่ออกแบบให้พกพาง่าย ทนทาน และสามารถซ่อมบำรุงได้
 

http://www.mut.ac.th/uploaded/news/16-10-58/2.JPG http://www.mut.ac.th/uploaded/news/16-10-58/3.JPG

 

ระบบขับเคลื่อนโดยใช้ล้อสายพานแบบ Differential Track Wheels มีระบบป้องกันการลื่นไถลขณะปีนป่าย กล้องความละเอียดสูง 1920x1080 สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน (ความสว่าง 0 lux) ในระยะ 15 เมตร ความเร็วสูงสุด 15 กิโลเมตร/ชั่วโมง
รับ-ส่งสัญญาณควบคุมระหว่างสถานีควบคุมกับตัวหุ่นยนต์แบบไร้สาย ผ่านระบบ Wi-Max ที่ความถี่ปรับแต่งได้ตั้งแต่ 4-6 GHz มีระบบป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ขนาด 28 โวลต์ 16.8 แอมแปร์ ติดตั้งระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ ระยะเวลาปฏิบัติงานปกติ ชั่วโมง ระยะเวลาปฏิบัติงานหนัก ½ ชั่วโมง สามารถติดตั้งแขนกลได้หลายรูปแบบ และเปลี่ยนแขนกลได้ทันที หรือทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์สำรวจโดยไม่ติดตั้งแขนกลก็ได้
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาให้มีระบบ Interface ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยผู้ใช้งานให้สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ง่ายขึ้น โดยระบบจะเป็นตัวสื่อสารแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นให้ผู้ใช้งานทราบในเวลานั้น เช่น ปริมาณแบตเตอรี่ ท่าทางของแขนหุ่นยนต์ ภาพจากกล้องที่หุ่นยนต์ เป็นต้น โดยการแสดงข้อมูลต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องแสดงข้อมูลทั้งหมดให้ใกล้เคียงกับเวลาจริงมากที่สุด โดยระบบ Interface ถือเป็นระบบที่สำคัญ ต้องทำการออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และมีความน่าเชื่อถือ

http://www.mut.ac.th/uploaded/news/16-10-58/4.JPG

 

จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และ บริษัท AVIA Group บริษัทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ แห่งเดียวในประเทศไทย จึงร่วมมือกันก่อตั้งศูนย์วิจัยขึ้น ในนาม ศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน : Mahanakorn - Avia Sustained Innovation (MASI) เพื่อนำความรู้สู่ความยั่งยืน พัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านการวิจัยและผลักดันงานวิจัยไทยสู่มาตรฐานสากลโลก
จากการก่อตั้ง ศูนย์ MASI นี้ ยิ่งเพิ่มความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาให้กับวิศวกรในการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดมากขึ้น เพื่อให้บรรลุความตั้งใจที่จะลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด มาบัดนี้ ได้กำเนิดหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดรุ่นล่าสุดขึ้น ที่เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการทดสอบใช้งานจริง การใช้ความรู้ความสามารถของเหล่าวิศวกร และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เกิดเป็นหุ่นยนต์แห่งความภาคภูมิใจรุ่นใหม่ล่าสุด และจะเปิดตัวในอีกไม่นานนี้ อยากให้รอติดตาม รับรองว่าจะพบกับหุ่นยนต์ที่ทันสมัย ใช้งานได้จริง และมีประโยชน์ อย่างที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน
 

สร้างนวัตกรรม เพื่อผู้กล้า
คุณค่าของหุ่นยนต์ เทียบไม่ได้เลยกับชีวิตทหารหนึ่งคน แม้ว่าราคาจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม

http://www.mut.ac.th/uploaded/news/16-10-58/5.JPG



ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

  ระบบสายพานลำเลียง  ( Belt Conveyor )   ระบบสายพานลำเลียง  ( Belt Conveyor )  คือ อุปกรณ์ลำเลียง ( Conveyor )  ที่ใช้สายพาน ( Belt)  เป็น...